วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 13

ครั้งที่ 13
บันทึก สัปดาห์ที่ 14
       วิชา : การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
       วัน/เดือน/ปี : 09 เมษายน พ.ศ.2558
       กลุ่มเรียน : 102 (วันพุธ : เช้า)(วันพฤหัสบดี : บ่าย)
       เวลาเข้าเรียนวันพุธ 08:30-10:10 ห้องเรียน : 441
       เวลาเข้าเรียนวันพฤหัสบดี 12:20-15:00 ห้องเรียน : 223


ชั่วโมงที่ 13 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับแผน (งานเดี่ยว) ที่ได้เขียนมาให้เพื่อนๆและอาจารย์ได้ฟัง พร้อมคำแนะนำในการเขียนให้ดีขึ้นจากอาจารย์อีกด้วย ดิฉันได้เขียนในเรื่องกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยวัสดุจากธรรมชาติ และอาจารย์ยังได้พูดถึงการสอนแบบไฮสโคปอีกด้วย

หลักการ
           โปรแกรมไฮสโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและ กิจกรรมที่เหมาะ สมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น
ทฤษฎีที่มีอิทธิพล
           ในระยะเริ่มต้น การพัฒนาโปรแกรมไฮสโคปใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) เป็นพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนซึ่งเน้น การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) ระยะต่อมามีการผสมผสานทฤษฎี และแนวคิดอื่นๆ เช่น ทฤษฎีของอีริกสัน (Erikson) ในเรื่องการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆ อย่างอิสระและทฤษฎีของ ไวก๊อตสกี้ (Vygotsky) ในเรื่อง ปฏิสัมพันธ์และการใช้ภาษา เป็นต้น

การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)
           หลักการที่สําคัญของไฮสโคปในระดับปฐมวัย คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ซึ่งถือว่าเป็น พื้นฐานสําคัญ ในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทําจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมาก ที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่าง เหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลง มือกระทํา หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทํากับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั่ง สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วย ตนเอง (Hohmann and Weikart,1995) ทั้งนี้ องค์ประกอบของ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ได้แก่
            1. การเลือกและตัดสินใจ เด็กจะเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจากความสนใจและความตั้งใจของตนเอง เด็กเป็นผู้เลือกวัสดุอุปกรณ ์และตัดสินใจว่า จะใช้วัสดุอุปกรณ์นั้นอย่างไร การที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจทํา ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตน เองมากกว่าได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้ใหญ่ ดังนั้นผู้ใหญ่ที่ ตระหนักถึงความสำคัญเรื่อง การเลือก และการตัดสินใจต้องจัดให้เด็กมีอิสระที่จะเลือกได้ตลอด ทั้งวันขณะที่ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันไม่ใช่่เฉพาะ ในช่วงเวลาเล่นเสรีเท่านั้น
            2. สื่อ ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำจะมีเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ หลากหลาย เพียงพอ และเหมาะสมกับระดับอายุของเด็ก เด็กต้องมีโอกาสและมีเวลา เพียงพอ ที่จะเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างอิสระ เมื่อเด็กใช้เครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เด็กจะมีโอกาส เชื่อมโยงการ กระทำต่าง ๆ การเรียนรู้ในเรื่องของความสัมพันธ์ และมีโอกาส ในการแก้ปัญหา มากขึ้นด้วย
            3. การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กได้สำรวจ และจัดกระทำกับวัตถุโดยตรงทำให้เด็กรู้จักวัตถุ หลังจากที่เด็กคุ้นเคยกับวัตถุ แล้วเด็กจะนำวัตถุต่าง ๆ มาเกี่ยวข้องกันและเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ ผู้ใหญ่มีหน้าที่จัดให้เด็กค้นพบความสัมพันธ์เหล่านี้ด้วยตนเอง
            4. ภาษาจากเด็ก สิ่งที่เด็กพูดจะสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็ก ในห้อง เรียนที่เด็กเรียนรู้ แบบลงมือกระทําเด็กมักจะเล่าว่าตน กําลังทำอะไร หรือทําอะไรไปแล้วใน แต่ละวัน เมื่อเด็กมีอิสระในการใช้ภาษา เพื่อสื่อความคิดและรู้จักฟังความคิด เห็นของผู้อื่น เด็กจะเรียนรู้วิธีการพูด ที่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ได้พัฒนาการ คิดควบคู่ ไปกับการพัฒนา ความเชื่อมั่นในตนเองด้วย
            5. การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ในห้องเรียนการเรียนรู้แบบลงมือกระทําต้องสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก สังเกตและค้นหา ความตั้งใจ ความสนใจของเด็ก ผู้ใหญ่ควรรับฟังเด็ก ส่งเสริมให้เด็กคิดและ ทําสิ่งต่าง ๆ ด้วยตน เอง ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบ ลงมือกระทํา เด็กจะเผชิญกับประสบการณ์สําคัญ ซํ้าแล้วซํ้า อีกในชีวิตประจําวันอย่าง เป็นธรรมชาติ ประสบการณ์สําคัญเป็นกุญแจที่จําเป็นในการสร้าง องค์ความรู้ของ เด็กเป็นเสมือนกรอบความคิด ที่จะทําความเข้าใจการเรียนรู้แบบลงมือ กระทํา เราสามารถให้คําจํากัดความได้ว่า ประสบการณ์สําคัญเป็นส่วนหนึ่งของ ความรู้ที่เด็กจะต้องหามา ให้ได้โดยการปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ คน แนวคิดและเหตุการณ์ สำคัญต่างๆ อย่างหลากหลาย ประสบ การณ์สำคัญเป็นกรอบ ความคิดให้กับผู้ใหญ่ในการเข้าใจการเรียนรู้ของเด็ก สามารถวางแผน การจัดประสบ การณ์เพื่อส่งเสริมและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างเหมาะสม
ข้อมูลจาก : www.gotoknow.org/posts/46851

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น