ครั้งที่ 2
บันทึก สัปดาห์ที่ 3
วิชา : การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี : 21 และ 22 มกราคม พ.ศ.2558
กลุ่มเรียน : 102 (วันพุธ : เช้า)(วันพฤหัสบดี : บ่าย)
เวลาเข้าเรียนวันพุธ 08:30-10:10 ห้องเรียน : 441
เวลาเข้าเรียนวันพฤหัสบดี 12:20-15:00 ห้องเรียน : 223
ชั่วโมงที่ 3 วันที่ 21/01/58 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำใบงานที่ 2 ในหัวข้อ มือน้อยสร้างสรรค์ โดยการวาดรูปมือตัวเองยังไม่เหมาะกับเด็กปฐมวัย อาจจะยากเกินไปเด็กปฐมวัยอาจจะเป็นการวาดวงกลม หรือการวาดที่ง่ายกว่านี้
บันทึก สัปดาห์ที่ 3
วิชา : การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี : 21 และ 22 มกราคม พ.ศ.2558
กลุ่มเรียน : 102 (วันพุธ : เช้า)(วันพฤหัสบดี : บ่าย)
เวลาเข้าเรียนวันพุธ 08:30-10:10 ห้องเรียน : 441
เวลาเข้าเรียนวันพฤหัสบดี 12:20-15:00 ห้องเรียน : 223
ชั่วโมงที่ 3 วันที่ 21/01/58 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำใบงานที่ 2 ในหัวข้อ มือน้อยสร้างสรรค์ โดยการวาดรูปมือตัวเองยังไม่เหมาะกับเด็กปฐมวัย อาจจะยากเกินไปเด็กปฐมวัยอาจจะเป็นการวาดวงกลม หรือการวาดที่ง่ายกว่านี้
มือของฉัน
การวาดรูปมือในครั้งนี้มีสีสันที่สวยงามมากขึ้นเนื่องจากมีเส้นตัดหลายเส้นที่ได้จากการวาดมือที่ซ้อนกัน
ยิ่งเส้นตัดกันมากเท่าไหร่สีสันก็ยิ่งเยอะมากขึ้น การระบายสี การเล่นสีให้สวยงาม
ผลงานของฉัน
ผลงานของเพื่อนๆ
นำมาเป็นพื้นหลังก็สีสันหลากหลาย
สวยงาม
ชั่วโมงที่
4 วันที่ 22/01/58
ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้อาจารย์ได้สอนเนื้อหาในเรื่อง ความหมายของศิลปะ ปรัชญาศิลปศึกษา ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาการทางศิลปะ โดยมีเนื้อหาดังนี้
ศิลปะ คือ ความงาม (ทางกาย,ทางใจ) รูปทรง การแสดงออก
"ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดความงาม
และความพึงพอใจ“
สิ่งที่เด็กแสดงออกซึ่งความเจริญเติบโต
ความนึกคิด ความเข้าใจ และการแปลความหมายของสิ่งแวดล้อม (โลเวนฟิลด์
และบริเตน, 1975 )
ศิลปะที่มองเห็นได้ ที่เรียกว่า ทัศนศิลป์ คือศิลปะสองมิติ หรือ สามมิติ แทนความรู้สึกนึกคิดของเด็กโดยตรง (วิรุณ ตั้งเจริญ , 2526)
งานศิลปะสำหรับเด็ก ไม่ใช่เพียงแค่การวาดภาพ ระบายสี หรือการประดิษฐ์สิ่งต่างๆเท่านั้น
แต่หมายถึงการแสดงออก การสื่อสาร การถ่ายทอดจินตนาการ
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กแต่ละคน
ที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็กและสิ่งแวดล้อม
(สิริพรรณ ตันติรัตน์ไพศาล, 2545)
ปรัชญาศิลปศึกษา คือ มุ่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ เป็นเครื่องมือในการแสดงออก
และใช้ความคิดสร้างสรรค์ ให้ความสำคัญกับ กระบวนการสร้างสรรค์งาน เน้นความไวในการรับรู้ด้านอารมณ์
ความคิดจากสิ่งที่มองเห็น ความรู้สึกที่มีอยู่เบื้องหลังผลงาน สนับสนุนให้เรียนรู้
ด้วยการค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ๆ นำไปใช้พัฒนาชีวิตด้านอื่นๆได้
ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
คือ การที่เด็กชอบวาดรูป ขีดๆเขียนๆ มีความคิด จินตนาการ เป็นสิ่งที่เด็กใช้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด
ที่บางครั้งไม่สามารถ พูดหรืออธิบายได้ เด็กต้องการการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ต้องการกำลังใจ
การสร้างความเชื่อมั่น และความภาคภูมิใจ
ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
คือ
1. เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย
ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และ ด้านสติปัญญา
2.ช่วยจัดสรรประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้กว้างมากขึ้น
กระบวนการทางศิลปะจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตนเอง และสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามวัย
3.ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
4.ช่วยเสริมสร้าง /
กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
ทฤษฎีพัฒนาการ
-
พัฒนาการทางศิลปะ ของ โลเวนเฟลด์ (Lowenfeld)
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
-
ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford)
-
ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance)
-
ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ (สมอง สองซีก)
-
ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner)
-
ทฤษฎีโอตา (Auta)
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
5 ทฤษฎี
1.ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์
ตัวประกอบของสติปัญญา ที่เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ความมีเหตุผลและการแก้ปัญหา กิลฟอร์ด
อธิบายความสามารถของสมองออกเป็น 3 มิติ
มิติที่ 1 เนื้อหา เป็นมิติเกี่ยวกับ
ข้อมูล หรือ สิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด สมองจะรับข้อมูลเข้าไปคิด พิจารณา 4 ลักษณะ ได้แก่ ภาพ สัญลักษณ์ ภาษา และพฤติกรรม
มิติที่ 2 วิธีการคิด เป็นมิติที่แสดงลักษณะการทำงานของสมองใน
5 ลักษณะ ได้แก่ 1.การรู้จักและการเข้าใจ 2.การจำ 3.การคิดแบบอเนกนัย (คิดได้หลายรูปแบบ หลากหลาย) 4.การคิดแบบเอกนัย (ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุด) 5.การประเมินค่า
มิติที่ 3 ผลของการคิด
เป็นมิติที่แสดงถึงผลที่ได้จากการทำงานของสมอง จากมิติที่ 1 + มิติที่ 2 มี 6 ลักษณะ ได้แก่ หน่วย จำพวก ความสัมพันธ์ ระบบ การแปลงรูป การประยุกต์
2.ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่ขาดหายไป
แล้วเกิดความพยายามในการสร้างแนวคิด
ตั้งสมมุติฐาน ทดสอบสมมุติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้ให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจ
ทำให้เกิดแนวทางในในการค้นคว้าสิ่งแปลกๆใหม่ๆต่อไป ขั้นความคิดสร้างสรรค์นี้
มีลักษณะคล้ายคลึงกับขั้นการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ทอร์แรนซ์จึงเรียกขั้นการคิดสร้างสรรค์นี้ว่า
กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ
เป็นทฤษฎีที่กำลังได้รับความสนใจ
เพราะเป็นการค้นพบความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์ การทำงานของสมองสองซีก ทำงานแตกต่างกัน
สมองซีกซ้าย
ทำงานส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล
สมองซีกขวา
ทำงานส่วนจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
แพทย์หญิงกมลพรรณ ชีวพันธุศรี
กล่าวว่า คนเรามีสมอง 2 ซีก คือ...สมองซีกขวา
ซึ่งเป็นส่วนของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาได้มากในช่วงวัย 4-7
ปี ส่วนสมองซีกซ้ายที่เป็นส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล จะพัฒนาในช่วง
9-12 ปี
และสมองจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่อเด็กอายุ
11-13 ปี ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักได้รับการพัฒนาเพียงสมองซีกใดซีกหนึ่งเป็นพิเศษ
ไม่ให้ความสนใจการทำงานของสมองอีกซีกหนึ่งเท่าที่ควร
4.ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาการศึกษา
ชาวอเมริกัน แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญา
เป็นผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญา(ศักยภาพและความสามารถที่หลากหลายของมนุษย์)
ทฤษฎีพหุปัญญา
จำแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคนเอาไว้ 9 ด้าน
ได้แก่ ความสามารถด้านภาษา ความสามารถด้านตรรกวิทยาแลคณิตศาสตร์ ความสามารถด้านดนตรี
ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์ ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
ความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา
5.ทฤษฎีโอตา
ขั้นตอนที่ 1
การตระหนัก ต้องตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเอง
ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น การพัฒนาปรีชาญาณ การรู้จักและเข้าใจตนเอง การมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์
การมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ขั้นตอนที่ 2
ความเข้าใจ มีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องต่างๆ ได้แก่ ความรู้และเนื้อหาเรื่องบุคลิกภาพของบุคคลที่มี
ความคิดสร้างสรรค์ ลักษณะกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ ทฤษฏีความคิดสร้างสรรค์ เทคนิค
วิธีการฝึกความคิดสร้างสรรค์
ขั้นตอนที่
3 เทคนิควิธี การรู้เทคนิควิธีในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทั้งที่เป็นเทคนิคส่วนบุคคลและเทคนิคที่เป็นมาตรฐาน
ได้แก่ เทคนิควิธีการในการฝึกความคิดสร้างสรรค์ การระดมสมอง การคิดเชิงเปรียบเทียบ
การฝึกจินตนาการ
ขั้นตอนที่ 4 การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ การรู้จักหรือตระหนักในตนเอง
พอใจในตนเอง สามารถดึงศักยภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ได้แก่ เปิดกว้างรับประสบการณ์ต่างๆ
โดยปรับตัวอย่างเหมาะสม มีความคิดริเริ่มและผลิตผลงานด้วยตนเอง สามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแนวทางในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม
พัฒนาการทางศิลปะ
เคลล็อก(Kellogg)
ได้ศึกษางานขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัย และจำแนกขั้นตอนออกเป็น 4 ขั้นตอน
ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของงานขีดๆเขียนๆทางศิลปะที่มีผลเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็ก
4 ขั้นตอน มีดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นขีดเขี่ย(placement stage) เด็กวัย 2 ขวบ
-
ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติ
-
ขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้าง โค้งบ้าง
-
ขีดโดยปราศจากการควบคุม
ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง(shape stage) เด็กวัย 3 ขวบ
-
การขีดๆเขียนๆเริ่มเป็นรูปร่างขึ้น
-
เขียนวงกลมได้
-
ควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้น
ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ(design
stage) เด็กวัย 4 ขวบ
-
ขีดๆเขียนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน
-
วาดโครงสร้างหรือเค้าโครงได้
-
วาดสี่เหลี่ยมได้
ขั้นที่ 4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ(pictorial
stage) เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป
-
เริ่มแยกแยะวัตถุที่เหมือนกับมาตรฐานของผู้ใหญ่ได้
-
รับรู้ความเป็นจริง เขียนภาพแสดงถึงภาพคน/ สัตว์ได้
-
ควบคุมการขีดเขียนได้ดี
-
วาดสามเหลี่ยมได้
พัฒนาการด้านร่างกาย
กีเซลล์และคอร์บิน สรุปพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย
ตามลักษณะพฤติกรรมทางการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก ดังนี้
1.ด้านการตัด
เด็กอายุ 3-4 ปี ตัดกระดาษเป็นชิ้นส่วนได้
เด็กอายุ 4-5 ปี ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
เด็กอายุ 5-6 ปี ตัดกระดาษตามเส้นโค้งหรือรูปร่างต่างๆได้
2.การพับ
เด็กอายุ 3-4 ปี พับและรีดสันกระดาษสองทบตามแบบได้
เด็กอายุ 4-5 ปี พับและรีดสันกระดาษสามทบตามแบบได้
เด็กอายุ 5-6 ปี พับและรีดสันกระดาษได้คล่องแคล่ว
หลายแบบ
3.การวาด
เด็กอายุ 3-4 ปี วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ขา ปาก
เด็กอายุ 4-5 ปี วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก จมูก ปาก ลำตัว
เท้า
เด็กอายุ 5-6 ปี วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก ลำตัว เท้า จมูก
แขน มือ คอ ผม
หลังเรียนเสร็จอาจารย์ได้สั่งการบ้านให้นักศึกษา เตรียมอ่านหนังสือศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
บทที่ 3 เรื่องความมุ่งหมาย บทบาทครูศิลปะ การเตรียมการสอนศิลปะ
เทคนิควิธีการสอนศิลปะ สร้างสรรค์ผลงาน การเล่นสี เทคนิคการเล่นสีรูปแบบต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น